Loading...
Loading...
Loading...


Loading...
Loading...
Loading...

AWARD

รางวัล





โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ปี 2563

YOUNG THAI ARTIST AWARD 2020



สาขาภาพถ่าย

PHOTOGRAPHY





ณัฐวุฒิ เตจา

NATTHAWUT

TAEJA



การศึกษา

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Education

Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University





















ชื่อผลงาน

ทุ่งกุลาร้องไห้

เทคนิค

ภาพถ่ายดิจิตอล

ขนาด

24 x 30 นิ้ว


Title of Work

in my place

Technique

Digital Photo

Size

24 x 30 inche



แนวความคิด

จาก “ฉันอยู่ที่นี่ไม่ได้” สู่ “ฉันสามารถเป็นคนที่นี่ในแบบของฉันได้” . ผลงานภาพชุดนี้เล่าถึงการเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อสำรวจตนเองในพื้นที่ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับค้นหาคำตอบของความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งต่อพื้นที่แห่งนี้ . “ตั้งแต่เกิดจนเรียนจบมัธยมเราอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ สิ่งที่รู้สึกมาตลอดเลยคือไม่ชอบ อยากหนีออกไปให้ไกล แต่เมื่อเวลาล่วงผ่าน พื้นที่เปลี่ยนไป และสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือความรู้สึกของเราที่มีต่อพื้นที่นี้ก็เปลี่ยนไปด้วย เมื่อได้มีโอกาสกลับมาอีกครั้งการบอกว่าไม่ชอบที่นี่ก็พูดออกไปได้ไม่เต็มปากเหมือนเดิมอีกแล้ว การกลับมาครั้งนี้ทำให้เรารู้สึกว่าที่นี่ก็ไม่ได้แย่เท่าไหร่นัก แต่ความรู้สึกนี้มันจะยั่งยืนหรือชั่วคราวก็ยังไม่มั่นใจ การสำรวจจึงได้เริ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งที่อยากหาคำตอบ เราตัดสินใจใช้เวลา 1 ปีสุดท้ายของการศึกษาทำศิลปนิพนธ์เกี่ยวกับการสำรวจตนเองผ่านพื้นที่บ้านเกิดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่ทุกคนอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง การเดินทาง ไป-กลับ ร้อยเอ็ด-เชียงใหม่ เป็นเวลาเกือบ 2 เทอม เพื่อสำรวจว่าที่ไหนกันแน่คือที่ของเรา และหากเจอที่นั่นเราจะบันทึกมันไว้ จนมาถึงตอนนี้จากความรู้สึกที่ยังไม่มั่นใจเปลี่ยนเป็นภาพที่บันทึกไว้มันทำให้มั่นใจแล้วว่าเราสามารถเป็นคนในพื้นที่นี้ในแบบของเราได้จริงๆ”

Concept

From “I cannot be here” to “I can be myself here”, this series of photos narrates my journey back to my hometown to explore myself in a changing place while searching for answers to the lack of belonging towards this place. “I lived here since birth until high school. I have never liked this place; I just wanted to escape. But as time has gone by, this place has changed and, more importantly, my feelings towards this place have also changed. Now that I am rediscovering my hometown, I cannot wholeheartedly say that I hate this place anymore. Now I feel that the place is not too bad, but I am not certain whether this feeling will last. My self-exploration begins as I look for answers to my questions. I have decided to spend my last year of university writing my art thesis about self-discovery in my hometown, which is part of Thung Kula Ronghai where people may have heard of. It has been almost two semesters going back and forth between Roi Et and Chiangmai to find a place where I belong. If I ever find it, I will capture it. This feeling of being uncertain has now transformed into a series of photos, underlining my certainty that I can really fit in here just the way I am.”